วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561


ชีวประวัติ วินเซนต์ แวนโก๊ะ



วินเซนต์ แวน โก๊ะ ถูกยกย่องให้เป็นจิตรกรชาวดัชท์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าชื่อเสียง ของเขาเพิ่งจะมาโด่งดังเอาในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตการเป็นจิตรกรตลอด 10 ปี ก็ตาม แต่เขาก็ได้สร้างอิทธิพลต่อ ศิลปะแบบอิมเพรสเช่นนิสท์ แบบโมเดินท์ อารต์ เอาไว้มากมาย สร้างผลงานภาพเขียนสีน้ำมันกว่า 800 ภาพ และภาพวาดอีกกว่า 700 ภาพ ซึ่งตลอดชีวิตของเขานั้นมีเพียงภาพเดียวที่ขายได้ ความเจ็บป่วยทางสมอง และจิตใจของ แวน โก๊ะนั้นแสดงออกมาทางภาพที่เขาเขียน ด้วยการใช้สีอันร้อนแรง การปัดพู่กันแบบหยาบๆ และรูปแบบของลายเส้นที่ใช้จนในที่สุดก็ได้ผลักดันให้เขา จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย

วินเซนต์ แวน โก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 1853 ที่ซันเดิรท์ ย่านบราแบรนท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วินเซนต์เป็นบุตรชายคนโต บิดาเป็นนักบวชนิกาย โปรแตสแตนท์ เมื่อแวนโก๊ะอายุได้ 16 ปี เขาได้ไปฝึกงานขายภาพศิลปะที่ฮูเก้นท์ เขาทำงานขายภาพทั้งในลอนดอน และปารีสไปจนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1876

แวน โก๊ะก็เริ่มตระหนักว่า เขาไม่ชอบงานขายภาพที่เขาทำอยู่เลยประกอบกับถูก ปฏิเสธความสัมพันธ์จากหญิงที่ตนรัก ทำให้เขาเริ่มทำตัวออกห่างจากผู้คนมากขึ้น และตัดสินใจที่จะออกบวช แต่เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขา ไม่สามารถผ่านการทดสอบให้เข้ามาเป็นนักบวชได้ ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักเทศน์ไป และในปีค.ศ.1878 เขาได้เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบลเยี่ยมเพื่อทำการ เผยแพร่ศาสนา โดยพกพาเอาความยากจนค่นแค้นไปตลอดการเดินทางจากการเดินทาง ครั้งนี้ แวนโก๊ะ ได้มีปากเสียงกับนักเทศน์ผู้อาวุโส ทำให้เขาถูกขับออกจากกลุ่มในปี ค.ศ.1880 ในสภาพของคนสิ้นไร้ และสูญเสียความเชื่อของตนไป เขาจมอยู่กับ ความผิดหวัง และได้เริ่มเขียนรูป แต่ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่สามารถที่จะ เรียนรู้การเขียนภาพด้วยตนเองได้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปบรัสเซลเพื่อเรียน การเขียนภาพ


ในปี ค.ศ.1881 แวน โก๊ะได้กลับมาทำงานที่ฮูเก้นท์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มทำงานกับ ช่างเขียนภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ชื่อ อันตน มัวร์ ฤดูร้อนของปีถัดมาได้เริ่มการทดลอง การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน และด้วยเสียงเรียกร้องภายในจิตใจของ แวน โก๊ะ ให้ไปใช้ ชีวิตตามลำพังอยู่กับธรรมชาติ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวดัชท์ เพื่อเริ่มการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามตามท้องที่ต่างๆ เขาใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ การเขียนถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขา ในปี ค.ศ.1883 เขาได้สร้างงานเขียนภาพชิ้นแรก ขึ้นมา โดยให้ชื่อภาพว่า " โปเตโต อีทเตอร์ "

เมื่อความเหงาและความอ้างว้างเริ่มเข้ามาแกาะกุมจิตใจของ แวน โก๊ะ เขาจึงออกจาก หมู่บ้านและเข้าศึกษาต่อที่ แอนท์เวอป์ ในเบลเยี่ยม แต่เขาเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติ ตามกฎของการเรียนที่นั่นมากนัก ช่วงที่เรียนอยู่ที่แอนเวอป์ เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากจิตรกรที่ชื่อ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และได้เริ่มสนใจภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วย ในที่สุด เขาก็ได้เลิกเรียน เพื่อไปยังปารีส ทีนั่นเขาได้พบกับ เฮนรี่ เดอ ตัวรูส และจอร์จีนส์ รวมทั้งศิลปินอิเพราสเช่นนิสท์อีกหลายคน เช่น คามิล ปิสซาโร โซรัส และคนอื่น ๆ การใช้ชีวิต 2 ปีเต็มที่ปารีสนั้น ได้ขัดเกลาฝีมือในการเขียนภาพของ แวน โก๊ะ ให้ เฉียบคมยิ่งขึ้น เขาเริ่มใช้สีสันที่มีชีวิตชีวา และไม่ยึดติดอยู่กับการเขียนภาพแบบเก่าๆ

วินเซนต์ แวน โก๊ะ ใช้ชีวิตในตัวเมืองปารีส ได้สักพักก็เริ่มเบื่อ เขาจึงออกจากปารีส ไปในปี ค.ศ.1888 เพื่อไปยังเมืองอาเรสทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ ที่เมืองอาเรสนั้นแวน โก๊ะได้เช่าบ้านหลังหนึ่ง แล้วตกแต่งบ้านด้วยสีเหลืองทั้งหมด เขาหวังที่จะตั้ง กลุ่มศิลปินอิมเพรสเช่นนิสท์ขึ้น ในเดือนตุลาคม จอร์จีนส์ได้มาอยู่ร่วมกับเขาแต่ ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็ต้องขาดสะบั้นลงในคืนวันคริสตมาส อีฟ จอร์จีนส์ ได้โต้เถียงอย่างรุนแรงกับแวน โก๊ะ ทำให้แวน โก๊ะ เกิดบ้าเลือดขึ้นมาแล้วตัดใบหู ของตัวเอง ทำให้จอร์จีนส์จากไป และตัวของเขาเองต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การแสดงอาการต่างๆ ของแวน โก๊ะ นั้น ทำให้เห็นถึงสภาพจิตใจและประสาทที่ผิดปกติ ในที่สุดเขาก็ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลบ้า เป็นเวลา 1 ปีเต็ม เมื่อ แวน โก๊ะ ออกจากโรงพยาบาล เขาได้ไปอาศัยอยู่กับศิลปิน นักฟิสิกส์ ได้ประมาณ 2 เดือน และในวันที่ 27 กรกฎาคมของปี ค.ศ.1890 เขาได้ยิงตัวเอง และเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา

ช่วงชีวิตของ แวน โก๊ะตอนที่อยู่ที่อาเรสนั้น ได้สร้างผลงานเขียนภาพที่ยิ่งใหญ่เอาไว้ มากมาย เขาเขียนภาพของธรรมชาติอันงดงาม ภาพทุ่งหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์ ภาพของดอกไม้นานาชนิด และภาพดอกไอริสที่มีชื่อเสียงนั้นสามารถขายได้ถึง 53.9 ล้านดอลลาร์ในเวลานั้น
  • ค.ศ.1353 วินเซนต์ แวนก๊อก เกิดเมื่อวันที่30 มีนาคม ประเทศ ฮออลแลนด์
  • ค.ศ.1894-68 ศึกษาชั้นต้นในท้องถิ่น
  • ค.ศ.1869 เริ่มทำงานในห้องภาพกูปีล์ในกรุงเฮก เมื่ออายุ16ปี
  • ค.ศ.1873-76 เริ่มสนใจเรื่องศาสนา หลังจากลาออกจากงานในห้องภาพได้ไปเป็นครูที่โรงเรียนในแรมสเกท เมืองเล็กๆในอังกฤษ ต่อมาย้ายไปสอนและเทศน์ที่ไอเวิลเวิร์ธ เมืองเล็กๆใกล้กรุงลอนดอน
  • ค.ศ1877 สอบเข้าคณะเทววิทยาที่มหาลัยอัมสเตอร์ดัม แต่ได้ละทิ้งการศึกษาและจุดมุ่งหมายด้านนี้เสียในเวลาต่อมา
  • ค.ศ.1878-79 เป็นนักเทศน์ผู้จาริกไปในเขตเหมืองแร่เมืองบอริเนจในเบลเยี่ยมอุทิศตนให้กับชาวเหมือ งที่วาสเมอใกล้เมืองมอนส์ โดยพยายามแก้ไขปัญหาความยากแค้นอย่างเต็มทีแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก ถึงแม้จะมีศรัทธาในศาสนาอย่างลึกซึ้ง แต่เขารู้สึกเหมือนถูกเรียกร้องให้เป็นศิลปินมากกว่า
  • ค.ศ.1880-85 ปี1880-81 ได้ไปศึกษากับจิตกรหลายคนในกรุงบรัสเซลส์ ศึกษาในกรุงเฮกในปี1881-83และที่เมืองแอนทะเวิร์ป ระหว่าง ค.ศ.1885-86 พร้อมกับศึกษาและเขียนภาพชีวิตชนบทของชาวเหมืองและชาวไร่ชาวนา ภาพคนกินมันฝรั่งเป็นผลงานที่แสดงอิทธิพลการเขียนแบบเก่าของดัตช์
  • ค.ศ.1886-87 ย้ายไปอยู่กับธีโอน้องชายที่ปารีส ธีโอทำงานอยู่ในห้องภาพที่นั่น ดังนั้นจึงเป็นผู้กว้างขวางและรู้จักศิลปินในแวดวงหลายคน แวนก๊อกรู้จักกับศิลปินกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสต์และสนใจศึกษาเทคนิคภาพเขียนของแปร์ตองก ีเป็นแนวทางเขียนภาพของเขา สีที่สดขึ้น การป้ายสีเป็นไปอย่างอิสระและเส้นสายเป็นลูกคลื่นที่ได้แบบอย่างจากภาพเขียนของญีปุ่ นในช่วงชีวิตนี้ธีโอคือผู้ช่วยเหลือสำคัญทั้งด้านการเงินและทางอารมณ์ของแวนก๊อก ซึ่งถูกกดดันเนื่องจากผลงานไม่เป็นที่ยอมรับ
  • ค.ศ.1888 ป่วยเป็นโรคจิตและทะเลาะกับโกแกงจนถึงกับตัดหูข้างซ้ายของตน ต่อมาได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอาร์เลส แชร์ทเรอมีและอูฟร์
  • ค.ศ.1889-90 ย้ายไปอยู่ที่อาร์เลสเมืองชนบทในฝรั่ง เป็นระยะที่มีการพัฒนาทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ แต่ละภาพเต็มไปด้วยความรู้สึกอันรุนแรงของตัวจิตรกรที่รู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม การปรากฎของสิ่งต่างๆประจำวัน ถูกแปรเป็นแผ่นสีที่สดใสและเส้นสายที่สั่นสะเทือนเป็นลูกคลื่น อันเป็นสัญลักษณ์ของพลังสากลที่ควบคุมสรรพสิ่งในโลกไว้ ผลงานชิ้นเยี่ยมในข่วงนี้คือ ต้นไซเปรสกับหมู่บ้าน บ้านนาหลังใหญ่และดอกทานตะวัน
  • วินเซนต์ แวน โก๊ะ จบชีวิตด้วยการยิงตัวตายในวัย37ปี

ผลงาน


Starry Night Over The Rhone
วาดในปี ค.ศ.1888 ขนาด 72.5 x 92 ซม.
วินเซนต์ แวน โก๊ะ ได้ใช้เวลาเกือบหนึ่งปีเต็มในการเขียนรูป " Starry Night " ขึ้นมาภาพนี้ได้ แสดงถึงภาพของดวงดาวที่ส่องแสงเจิดจรัสท่ามกลางความมืดมิดในยามค่ำคืน เพื่ออวดรัศมีแข่งกับแสงสว่างอันจอมปลอมที่ส่องจากตึกรามบ้านช่องบนริมฝั่งของแม่น้ำ ภาพของหนุ่มสาวที่เดินเคียงคู่กันในด้านหน้าของภาพนั้นคล้ายกับภาพของคู่หนุ่มสาวในภาพ " Landscape with Couple Walking and Crescent Moon " ภาพทั้งสองภาพนี้ วินเซนต์ได้เขียนรูปชายที่เดินเคียงข้างหญิงสาวผู้นั้น แทนตัวของเขาเอง โดยสามารถสังเกตได้จากผมของชายในภาพซึ่งเป็นสีแดงเหมือนกับผมของตัวเขาแต่ต่างกันที่ในชีวิต จริงของวินเซนต์แล้ว เขาหาได้มีหญิงสาวใดมาเดินเคียงข้างเขาไม่

The Starry Night
วาดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1889
เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนพื้นผ้าใบ ขนาดภาพ 72 x 92 ซม. (29 x 36 1/4 นิ้ว)
สถานที่แสดง The Museum of Modern Art เมืองนิวยอร์ก
วินเซนต์ได้กล่าวถึงภาพ " Starry Night " นี้ว่า "ฉันกำลังประสบกับปัญหาอย่างมากใน การเขียนภาพของยามค่ำคืน ถ้าพูดให้ถูกแล้วก็คือ การถ่ายถอดภาพลงบนผืนผ้าในเวลา กลางคืนก็ได้ " ภาพของแสงสีในยามค่ำคืนนั้น เป็นภาพที่เขาใฝ่ฝันอยากเขียนขึ้นและความฝันของเขาก็ได้กลายมาเป็นความจริง เมื่อเขาตัดสินใจย้ายมา อยู่ที่เมืองอาเรส ในเดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ. 1888 ในจดหมายเขาได้กล่าวไว้ว่า


" ในชีวิตของจิตกรแล้ว ความตายอาจไม่ใช่ความยากลำบากที่สุดในชีวิต ฉันสามารถพูดได้ว่า ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย แต่เมื่อฉันได้มองดูดวงดาวแล้ว ฉันก็เริ่มนึกคิดจุดดำมืดที่แสดง ถึงภาพของเมือง และหมู่บ้านในแผนที่ ทำให้ฉันคิดว่าทำไมมนุษย์เราถึงได้ให้ความสำคัญของ จุดดำมืดที่อยู่บนแผนที่ของฝรั่งเศษ มากไปกว่า แสงสว่างอันแท้จริงที่ส่องตรงมาจากสวรรค์ มันก็คงเหมือนกับการที่เราเลือกไป รถไฟเพื่อจะไปยังทาราสคอน หรือโรน หรือเราจะเลือก เอาความตายเพื่อจะไปให้ถึงดวงดาวบนฟ้านั่น "

Vincent’s Bedroom
ตั้งแต่วินเซนต์ได้ทราบข่าวจากโกแกง ว่าเขาจะเดินทางมาร่วมกับ วินเซนต์ที่บ้านสีเหลืองนี้ วินเซนต์ก็ได้จัดเตรียมทุกอย่างเพื่อคอย การมาของเพื่อนของเขา เขาตกแต่งบ้านเสียใหม่โดยเขียนภาพอีก หลายภาพขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งฝาผนัง และห้องนอนของโกแกง ภาพห้องนอนของวินเซนต์นี้ เมื่อตอนที่เขาอยู่ที่เซนต์เรมี ได้สร้างภาพจำลองขึ้น อีกสองภาพจากภาพต้นฉบับจริงที่เขาเขียนขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมของ ปี ค.ศ.1888 ในขณะที่เขากำลังรอคอยให้โกแกงมาพักอยู่ด้วย วินเซนต์ได้ยกย่องให้ภาพนี้เป็นหนึ่ง ในภาพที่ดีที่สุดของเขา โดยได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายถึง ธีโอพี่ชายของเขาว่า

" ถ้าจะให้พูดถึงภาพนี้แล้ว การได้มองดูภาพนี้ก็เปรียบเสมือนการได้พักผ่อนสมอง และปลดปล่อยจินตนาการให้เพ้อฝันไกลออกไป " ภาพห้องนอนของวินเซนต์ได้กลายมา เป็นภาพที่มีชื่อเสียงในทางศิลปะ ความเรียบง่ายของภาพ แสดงให้เห็นถึง ครรลองของชีวิตที่สมถะ และเรียบง่าย หรือในอีกแง่หนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า ภาพนี้ได้แสดงถึงมุมมองของ ศิลปินในยุคโรแมนติคผู้หนึ่ง ซึ่งอุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อทุ่มเทให้กับงานศิลปะเท่านั้น

Vegetable Gardens in Montmartre
วาดในปี ค.ศ.1887 ขนาดภาพ 96 x 120 ซม.

Landscape at Saint-Romy วาดเมื่อปี ค.ศ.1889
สถานที่แสดง Ny Carlsberg Glypotek เมือง Copenhagen
Still Life With Four Sunflowers
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ. 1887 เมือง Otterlo

Montmartre

View of Arles with Irises
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1888 ขนาดภาพ 54 x 65 ซม.

Irises (pink/gree)
วาดภาพเมื่อ พ.ค. ปี ค.ศ.1890
เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนพื้นผ้าใบ ขนาดภาพ 73.7 x 92.1 ซม.
สถานที่แสดง The Metropolitan Museum of Art เมืองนิวยอร์ก

Trees in the Asylum Garden
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1889
เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนพื้นผ้าใบ
ขนาดภาพ 73 x 60 ซม. (28 3/4 x 23 3/4 นิ้ว)
ประเทศสหรัฐอเมริกา

วันเสาร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ fete des rois ประวัติ

Galette des Rois


To celebrate the Feast of the Epiphany on 6 January, after Christmas boulangeries sell galette des rois (translates to pastry of the king), flat round pastries that come with gold paper crowns. Inside the galette, bakers place a small object, usually a toy animal, so when cut one piece will contain it.  The person whose piece contains the object is crowned king (or queen) and gets to wear the gold crown which comes with various privileges and obligations. Apparently the French president is not allowed to participate so a galette without figurine or crown is served at the Elysée Palace.
The Fete des Rois (festival of the king) tradition relates to the Epiphany, or twelfth night (as in the Xmas song): the end of Christmas, when a king (or three kings) brought gifts of gold, frankincense and myrrh to the baby Jesus. 






Galette des Rois

Ingredients:

  • 1/2 cup butter
  • 1/4 cup sugar
  • 3 eggs
  • 1/2 cup finely ground, blanched almonds
  • 2 rounds of puff pastry
  • 1 ornament

Instructions:

  • Preheat oven to 400°
  • Beat the butter and sugar until creamy.
  • Stir in two eggs, one at a time. Then add the almonds.
  • Line a greased springform pan with one of the pastry rounds.
  • Fill with the almond mixture and place the ornament in the mixture.
  • Beat the remaining egg and brush it over the edges of the pastry.
  • Place the other pastry round on top and seal well.
  • Use a knife to make patterns in the pastry. Brush the rest of the beaten egg on the top.
  • Bake for 30 minutes.
  • Decorate the cake with a golden paper crown then whoever finds the ornament wears the crown as "king for the day".
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันคริสมาสต์


Christmas History


Christmas or Christmas Day is an annual holiday celebrated on December 25 that commemorates the birth of Jesus of Nazareth. The date of commemoration is not known to be Jesus’ actual birthday, and may have initially been chosen to correspond with either a historical Roman festival or the winter solstice. Christmas is central to the Christmas and holiday season, and in Christianity marks the beginning of the larger season of Christmastide, which lasts twelve days.
วันคริสต์มาสเป็นวันหยุดประจำปี ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม โดยวันดังกล่าวอาจจะไม่ตรงกับวันเกิดจริงๆของพระเยซู แต่อาจจะเป็นวันที่ถูกเลือกเอาไว้เพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลโรมัน หรือสอดคล้องกับวันที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด (winter solstice)คริสต์มาสเป็นเทศกาลที่สำคัญ และมีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในย่านของชาวคริสเตียนนั้นจะมีการจัดเทศกาลนี้ยาวนานถึง 12 วัน
Although traditionally a Christian holiday, Christmas is widely celebrated by many non-Christians, andsome of its popular celebratory customs have pre-Christian or secular themes and origins. Popular modern customsof the holiday include gift-giving, Christmas carols, an exchange of greeting cards, church celebrations, a special meal,and the display of various decorations; including Christmas trees, lights, and garlands, mistletoe, nativity scenes, and holly. In addition, Father Christmas (known as Santa Claus in North America and Ireland) is a popular mythological figure in many countries, associated with the bringing of gifts for children.
แม้ว่าวันคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลของชาวคริสต์ แต่ในหมู่คนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ก็มีการเฉลิมฉลองกันอย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งการเฉลิมฉลองนั้นมีทั้งแบบสมัยใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยกับอีกแบบหนึ่งคือแบบดั้งเดิม โดยประเพณีที่เป็นนิยมในสมัยใหม่นั้น ได้แก่ การมอบของขวัญ การแลกเปลี่ยนการ์ดอวยพร
การจัดงานเลี้ยงฉลองในโบสถ์ การรับประทานอาหารมื้อพิเศษ และการโชว์งานตกแต่งประดับประดาตามสถานที่ต่าง ๆด้วย ต้นคริสต์มาส ดวงไฟประดับ พวงดอกไม้ ต้นมิสเซิลโท การแสดงเกี่ยวกับวันประสูติของพระเยซู และต้นฮอลลี่ นอกจากนี้บิดาแห่งคริสต์มาส (หรือที่ชาวอเมริกาเหนือและไอร์แลนด์เรียกว่า ซานตาคลอส) ยังเป็นหนึ่งตำนานที่เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้นำของขวัญมามอบให้กับเด็ก ๆ
Because gift-giving and many other aspects of the Christmas festival involve heightened economicactivity among both Christians and non-Christians, the holiday has become a significant event and a key sales period for retailers and businesses. The economic impact of Christmas is a factor that has grown steadily over the past few centuries in many regions of the world.
เนื่องจากการมอบของขวัญและการฉลองทั้งหลายนี้ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจสูงมาก ทั้งในเมืองของชาวคริสเตียน และที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนเทศกาลคริสต์มาสจึงกลายเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการขายของสำหรับเหล่าพ่อค้าและนักธุรกิจการที่ระบบเศรษฐกิจได้รับการกระตุ้นจากเทศกาลนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทั่วทุกพื้นที่ในช่วง 2-3 ศตวรรษที่ผ่านมานี้




ที่มาของคำว่า คริสต์มาส

The word Christmas originated as a compound meaning “Christ’s Mass”. It is derived from the Middle English Christemasse and Old English Cristes mæsse, a phrase first recorded in 1038. “Cristes” is from Greek Christos and “mæsse” is from Latin missa. In Greek, the letter (chi), is the first letter of Christ, and it, or the similar Roman letter X, has been used as an abbreviation for Christ since the mid-16th century. Hence, Xmas is often used as an abbreviation for Christmas.
คำว่า คริสต์มาส มีที่มาจากคำประสม คำว่า “Christ’s Mass” ซึ่งมีรากคำมาจากคำว่า Christemasse ของภาษาอังกฤษยุคกลาง และ คำว่า Cristes mæsse จากภาษาอังกฤษโบราณซึ่งมีการบันทึกคำดังกล่าวครั้งแรกไว้ในปี 1038
คำว่า Cristes มาจากพระเยซูคริสต์ของกรีก และคำว่า mæsse มาจากหนังสือสวดมนตร์ของชาวละติน ในภาษากรีกตัวอักษร X เป็นตัวอักษรแรกของคำว่า “Christ” ซึ่งคล้ายกับตัว X ในภาษาโรมัน จึงมีการใช้ X แทน Christ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ดังนั้นจึงนิยมใช้คำว่า Xmas แทน Christmas




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันคริสมาสต์


วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา


        

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อเป็นโรงงานตัวอย่างและพระราชทานโอกาสให้บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่สนใจ "ดูกิจการได้ทุกเมื่อ" ในแต่ละปีจึงมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานโครงการต่าง ๆ เกือบ ๒๐,๐๐๐ คนต่อปี
ลักษณะของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.  โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เป็นโครงการสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ทรงให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านอาหาร และสนับสนุนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร อีกทั้งเน้นการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการเหล่านี้ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลองข้าวไร่ การผลิตแก๊สชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สวนพืชสมุนไพร สาหร่ายเกลียวทองโครงการทดลองปลูกพืชโดยปราศจากดิน
๒.  โครงการกึ่งธุรกิจ เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร มีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพง โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงบดและอัดแกลบ ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงอบผลไม้ โรงกลั่นแอลกอฮอล์ โรงเนยแข็ง โรงสีข้าว โรงเห็ด โรงอาหารปลา โรงผลิตกระดาษสา และโรงหล่อเทียนหลวงโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาที่จัดอยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรมเกษตรมีมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อพสกนิกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งในด้านอยู่ดีกินดีและเสริมสร้างรายได้ โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่

                               ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โครงการโคนม สวนจิตรลดา

โรงโคนมสวนจิตรลดา
เริ่มจากในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีบริษัทและหน่วยราชการน้อมเกล้าฯ ถวายโค ๖ ตัว ซึ่งเป็นโคตั้งท้องแล้ว ๔ ตัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับสร้างโรงงานโคนม ราคา ๓๒,๘๘๖.๗๓ บาท ขึ้นในบริเวณสวนจิตรลดา ต่อมาเมื่อแม่โคตกลูกและเริ่มทำการรีดนม น้ำนมที่เหลือจากการแบ่งให้ลูกโคกินแล้ว ได้นำไปจำหน่าย เมื่อมีจำนวนโคนมเพิ่มขึ้น ทั้งจากแม่โคที่ให้ลูกทุกปี และมีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายสมทบ ทำให้สามารถผลิตน้ำนมออกจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกและโรงเรียนต่าง ๆ ในละแวกใกล้เคียง เมื่อมีกำไรสะสมมากยิ่งขึ้น ก็ได้ขยายงานออกไปตามลำดับทั้งในด้านการผลิตน้ำนม คุณภาพนมดิบ และการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร
ผลพลอยได้จากโรงโคนมคือ มูลโคซึ่งเมื่อนำมาหมักจะได้ "ไบโอแก๊ส" หรือ "แก๊สชีวภาพ" สำหรับเป็นเชื้อเพลิง กากจากบ่อหมักแก๊สชีวภาพยังสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย มูลโคที่เป็นสารละลายที่อยู่ในถังหมัก ส่วนหนึ่งนำไปใช้สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งสามารถนำไปทำอาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงปลาอีกส่วนหนึ่งทำเป็นปุ๋ยใส่แปลงพืชอาหารสัตว์ และบางส่วนนำไปใช้สำหรับบำรุงบ่อเพาะพันธุ์ปลานิล
เครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนเยอรมัน ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้อบผลิตผลทางเกษตรต่าง ๆ เช่น เมล็ดธัญญพืช เมล็ดถั่ว ผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เนื้อและผลิตภัณฑ์ประมงและเป็นเครื่องต้นแบบให้เกษตรกรที่ทำอุตสาหกรรมกล้วยตากอบแห้งนำไปเป็นต้นแบบในการผลิต

                                 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สวนจิตรลดา

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
โครงการนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เพื่อเก็บรักษาพันธุ์พืชทีหายากและเป็นการขยายพันธุ์พืชไม่ให้กลายพันธุ์ ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยส่วนสำคัญคือห้องเตรียมอาหาร ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ และห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชเป้าหมายของโครงการคือ สมอไทย ขนุน พุดสวน มณฑา และยี่หุบ

ศูนย์รวมนม
ศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา รับนมดิบจากสหกรณ์โคนมหนองโพและโรงโคนมสวนจิตรลดาเพื่อผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์จำหน่ายให้กับสมาชิกและโรงเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและยังนำรายได้ไปช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการของโรงนมผงสวนดุสิตนมพาสเจอร์ไรซ์ที่ผลิตในโครงการมีการบรรจุ ๒ แบบคือ

๑.  แบบบรรจุถุง บรรจุนม ๒๒๕ มิลลิลิตร บรรจุนมรสจืด รสหวานกลิ่นวานิลลา รสหวานกลิ่นสละ และรสโกโก้
๒.  แบบบรรจุขวด บรรจุนม ๑๐๐๐ มิลลิลิตร และ ๕๐๐ มิลลิลิตร บรรจุรสจืด รสหวานหลิ่นวานิลลา รสหวานกลิ่นสละ รสโกโก้ และรสกาแฟ

                                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงนมผง สวนดุสิต

โรงนมผงสวนดุสิต
โรงนมผงสวนดุสิตตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื่องจากเกิดภาวะนมสดล้นตลาด สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมจึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงช่วยเหลือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงนมผงขนาดย่อมขึ้น เพื่อผลิตนมผงเป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำกลั่น   สวนจิตรลดา

น้ำกลั่น
น้ำกลั่นเป็นผลผลิตพลอยได้จากเครื่องระเหยนมซึ่งมีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูงและมีมากพอที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำกลั่นเพื่อใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์และใช้ดื่มได้

                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา

โรงเนยแข็ง
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้สร้างโรงเนยแข็งน้อมเกล้าถวายในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พุทธศักราช ๒๕๓๐ และคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซี.ซี. ฟรีสแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายอุปกรณ์สำหรับการผลิตเนยแข็ง ปัจจุบันโรงเนยแข็งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกสู่ตลาด เช่น นมข้นหวานบรรจุหลอด นมเปรี้ยวพร้อมดื่มรสต่าง ๆ ไอศครีม นมสดพาสเจอร์ไรซ์ปราศจากไขมัน เนยแข็งเกาด้า เนยแข็งเช็ดด้า และเนยสด

                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงนมเม็ด   สวนจิตรลดา

โรงนมเม็ด
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เคยผลิตนมเม็ดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ แต่ประสบปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้จัดทำโรงนมเม็ดขึ้นใหม่เพื่อเป็นการส่งเสริมโภชนาการแก่ผู้บริโภค และเพื่อเป็นการแนะนำการผลิตนมเม็ดขึ้นในประเทศ ปัจจุบันสามารถผลิตนมเม็ดได้วันละ ๗,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ ซองต่อวัน มีทั้งสิ้น ๓ รส คือรสหวาน รสกาแฟ และรสช็อกโกแลต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต
ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต มีหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดไว้

                                 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงสีข้าว สวนจิตรลดา

โรงสีข้าวตัวอย่าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อทำการทดลองสีข้าวและสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกแบบต่าง ๆ และในปัจจุบันได้ดัดแปลงยุ้งฉางแบบสหกรณ์ให้สามารถนำข้าวเปลือกเข้าและออกจากยุ้งไปสีโดยไม่ต้องใช้คนแบกขน

งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง
งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๘ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสให้ศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย เพราะว่าในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนหรืออ้อยราคาต่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินเป็นทุนวิจัยใช้ในการดำเนินงาน ๙๒๕,๕๐๐ บาท


เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตร ร่วมกับบริษัทสุราทิพย์ได้ขยายกำลังผลิตแอลกอฮอล์เพื่อให้มีพอใช้ผลสมกับน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์สำหรับรถยนต์ทุกคันของโครงการที่ใช้เบนซิน และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีบริการแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงแบ่งเป็นหน่วยย่อย คือ
๑.  โรงแอลกอฮอล์ทำหน้าที่ ผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นร้อยละ ๙๕ และผลิตน้ำส้มสายชูจากสับปะรดและเศษผลไม้อื่น ๆ
๒.  โรงอัดแกลบ ทำหน้าที่ผลิตแกลบอัดแท่งและเผาถ่านจากแกลบอัดเพื่อจำหน่ายและใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดไอน้ำของโรงกลั่นแอลกอฮอล์
๓.  งานพิเศษตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ได้แก่ บ้านพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการศึกษาทอลองเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์ และระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และเป็นน้ำหล่อเย็นในการผลิตเทียนของโรงหล่อเทียนหลวงของสวนจิตรลดา

                                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ สวนจิตรลดา

น้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์
การผลิตน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์ได้เริ่มผลิตตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยผลิตน้ำส้ม น้ำอ้อย น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำขิงออกจำหน่าย และส่งเสริมให้เกษตรจัดตั้งกลุ่มดำเนินงานในรูปของสหกรณ์เกษตร

                                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง สวนจิตรลดา

โรงน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง
เริ่มโครงการเมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานขนาดเล็ก ต้นทุนการผลิต การตลาดที่จะผลิตผลไม้บรรจุกระป๋องเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนดื่มน้ำผลไม้มากขึ้น น้ำผลไม้บรรจุกระป๋องของโครงการมีหลายชนิด เช่น น้ำมะม่วง น้ำตะไคร้ น้ำเห็ดหลินจือผสมน้ำผึ้ง น้ำสับปะรด น้ำกาแฟ น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เป็นต้น

                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สาหร่ายเกลียวทอง จิตรลดา

สาหร่ายเกลียวทอง
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ งานวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้นำน้ำกากมูลหมักซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตแก๊สชีวภาพมาใช้เลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง และนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารปลา

                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงกระดาษสา สวนจิตรลดา

โรงกระดาษสา
งานวิจัยและพัฒนาการปลูกและการผลิตกระดาษสาเพื่อสร้างอาชีพและรายได้แก่กลุ่มราษฎรในชนบทและเป็นการอนุรักษ์กระดาษสาไว้
น้ำผึ้งสวนจิตรลดา
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงผึ้งโดยการรับซื้อน้ำผึ้ง ทำการบรรจุขวดและจัดหาตลาดจำหน่ายให้ ส่วนขี้ผึ้งนำมาผลิตเทียนสีผึ้ง

                                                      รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                                                     – ขอบคุณข้อมูลจาก โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา-

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560


ไทยกับฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสเริ่มอย่างไม่เป็นทางการ โดยบาทหลวงฝรั่งเศสสังฆราชแห่งเบริตและคณะต้องการ เดินทางไปญวนและจีน ได้อาศัยแวะพักที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเหตุการณ์ในญวนไม่เรียบร้อย สังฆราชแห่งเบริตได้นำพระราชสาสน์ของ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยผ่านทางเสนาบดี ต่อมาทรงให้สังฆราชแห่งเบริตเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ จากการสนทนากันทำให้ทรงสนพระทัยจะได้ฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรถ่วงดุลอำนาจ กับ ฮอลันดา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพยายาม หาชาติอื่นมาถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา ดังจะเห็นได้จากที่กล่าว มาแล้วข้างต้น แต่ไม่มีชาติใดเหมาะสม เช่นกับโปรตุเกสก็เห็นว่าไม่เข้มแข็งพอกับอังกฤษก็ดูอังกฤษไม่สนใจแม้จะยกเมืองปัตตานีซึ่งเป็น เมืองสำคัญมากให้อังกฤษ อังกฤษไม่สนใจจึงทรงไม่สนใจอังกฤษด้วย ส่วนประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามที่สำคัญขณะนั้นคือ อิหร่าน ก็ ทรงเคยคิดจะได้เป็นพันธมิตรด้วย เพราะทรงสนิทสนมกับชาวมุสลิมในราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามาก ชาวมุสลิมเคยช่วยพระองค์ชิงราช บัลลังก์จากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ทรงส่งทูตไปอิหร่านหลายครั้งในที่สุดทรงเห็นว่าการใช้อิหร่านถ่วงดุลอำนาจคงจะไม่ได้ผลเพราะ ฮอลันดามีกองทัพเรือที่เข้มแข็งกว่ามาก แต่ต่อมาทรงได้สนทนากับสังฆราชเบริต ทำให้ทรงเปลี่ยนท่าทีจากที่เคยโปรดปรานชาวต่าง ประเทศทั่วไปหันมาผูกมิตรกับฝรั่งเศสเพียงชาติเดียวเมื่อฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อ
พ.ศ. ๒๒๑๖ สังฆราชแห่งเฮลิโอโปลิส ได้นำพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และศุภอักษรของสัน ตะปาปาคลีเมนท์ที่ ๙ มาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อขอบคุณที่ทรงอนุญาตให้คณะบาทหลวงเผยแพร่ศาสนาได้ และขอให้ทรง คุ้มครองคณะบาทหลวง ต่อไป
พ.ศ. ๒๒๒๓ พ่อค้าชาวฝรั่งเศสของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส จึงได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าขึ้นใน กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก จุดมุ่งหมายเพื่อซื้อดีบุก พริกไทย และสินค้าที่มาจากจีน ญีปุ่น เมืองต่าง ๆ ที่ส่งเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยา การ เข้ามาครั้งนี้ทรงต้อนรับอย่างดี นอกจากให้ตั้งสถานีการค้าแล้วยังให้สิทธิพิเศษทางการค้าด้วย ในปีนี้เองทรงแต่งราชทูตไปเจริญสัมพันธ ไมตรีกับฝรั่งเศส โดยมีจุดมุ่งหมายนอกจากพระราชไมตรีแล้วยังต้องการทราบพระราชอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และความเจริญ ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเมืองจีน ทูตชุดนี้เรือไปอับปางที่ฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ จนเมื่อสังฆราชแห่งเฮลิโอโปลิสนำ พระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และสันตะปาปาคลีเมนท์ที่ ๙ มาถวายในพ.ศ. ๒๒๒๕ จึงทราบว่าทูตไปไม่ถึงฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๒๒๗ จึงทรงส่งคณะทูตไปอีกครั้ง จุดประสงค์เพื่อสืบข่าวทูตชุดแรกและกระชับสัมพันธไมตรีกับ ฝรั่งเศส คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และกลับมากรุงศรีอยุธยาพร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศส มีหัวหน้าคือ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ มาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จุดมุ่งหมายเพื่อให้พระองค์เปลี่ยนใจมานับถือศาสนาคริสต์เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และส่งเสริมการค้าผล ปรากฏว่าการจะให้ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ไม่สำเร็จ พระองค์กลับทรงพยายามชี้แจงให้ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เห็นความสำคัญของปัญหาที่ฮอลันดากำลังขยายอำนาจและความร่วมมือกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส ส่วนการเจรจาด้าน การค้าสำเร็จมีการลงนามในอนุสัญญาการค้า วันที ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๒๒๘ สาระสำคัญ คือ ให้ฝรั่งเศสตั้งสถานีการค้าได้ ให้มีเสรีภาพ ในการค้าขายในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาโดยไม่เสียภาษีขาเข้าขาออกเลย โดยไม่รวมสินค้าผูกขาด และอนุณาตให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการ ค้าดีบุกที่เกาะถลาง และดินแดนที่ขึ้นกับเกาะถลาง บริษัทอินเดีย ตะวันออกฝรั่งเศลมีสิทธิเปิดสถานีการค้าขึ้นในที่ใด ๆ ก็ได้ถ้าเสนาบตีไทย เห็นชอบ สำหรับประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการติดต่อกับฝรั่งเศสก็มี เช่น ได้วิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ มาสร้างป้อมที่บางกอก ได้ บาทหลวงเยซูอิต ๕ รูป เป็นนักดาราศาสตร์มาดูแลหอดูดาว ซึ่งสร้างจวนจะเสร็จที่เมืองลพบุรี
พ.ศ. ๒๒๒๘ คณะทูตฝรั่งเศสเดินทางกลับ ทรงพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นโดยส่งคณะ ทูตไทยไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๒๒๙ โดยออกพระวิสูตรสุนทรและคณะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสแม้จะเป็นในรูปของการค้าและศาสนา ส่วนกรุงศรีอยุธยาต้องการคบ กับฝรั่งเศสเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา แต่กลับกลายเป็นว่าต่อมาฝรั่งเศสมีนโยบายจะยึดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น โดยมีคอนสแตน ติน ฟอลคอน หรือออกญาวิไชยเยนทร์ ชาวกรีก ที่มารับราชการจนก้าวหน้ามีตำแหน่งและอำนาจในราชการมาก จนหวังจะตั้งตนเป็น กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ได้ให้บาทหลวงตาชารด์นำความคิดนี้กราบทูลต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า ฟอลคอนจะ ใช้วิธีให้คนอยุธยานับถือคริสต์โรมันคาทอลิกทั้งหมด แล้วบรรจุชาวฝรั่งเศสเข้ารับราชการแทนในตำแหน่งสำคัญ ๆ ทั่วราชอาณาจักรกรุง ศรีอยุธยา พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงเห็นชอบ ดังนั้นทหารฝรั่งเศสจากยุโรปจำนวน ๖๓๖ คน จึงติดตามคณะทูตไทยกลับกรุงศรีอยุธยามา ด้วยใน พ.ศ. ๒๒๓๐ มีนายพลเดส์ฟาร์ซเป็นผู้บัญชาการประจำที่ป้อมเมืองมะริดและส่งคณะทูตมีมองซิเออร์ เดอลาลูแบรและเซเบเรต์ มา เจรจาเกี่ยวกับศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสด้วย ได้ลงนามกันฉบับหนึ่งมีข้อกำหนดให้ประโยชน์แก่การค้าของฝรั่งเศสในกรุงศรีอยุธยา เพื่อโยงการค้ากรุงศรีอยุธยากับการค้าของฝรั่งเศสตามเมืองมัทราสในอินเดียด้วย ลงนามกันที่เมืองลพบุรี แต่ยังไม่ทันมีผลทางปฏิบัติ เกิด จลาจลในกรุงศรีอยุธยาเสียก่อน จนอำนาจของฝรั่งเศสและตะวันตกถูกทำลายลง
ในช่วงสัมพันธ์กับฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นช่วงฝรั่งเศสพยายามให้ได้กรุงศรีอยุธยาเป็น เมืองขึ้น ถึงขนาดที่ว่าถ้ากรุงศรีอยุธยาขัดขืนประการใดทางฝรั่งเศสก็พร้อมจะใช้กำลังทหารปราบปรามเพื่อเอาเป็นเมืองขึ้น ทราบได้จาก การวางแผนของฟอลคอน แต่ไม่สำเร็จเพราะต่อมาเกิดความขัดแย้งกันเอง โดยฟอลคอนพยายามทำการทุกอย่าง เพื่อมีอำนาจเหนือกอง กำลังทหารของฝรั่งเศสทั้งหมดในบางกอกและมะริด แต่ความขัดแย้งก็ไม่รุนแรงเด็ดขาด ฝรั่งเศสจึงมีการเตรียมการถึงขั้นเกือบบรรลุ โดย กองกำลังฝรั่งเศสอีกจำนวนมากเตรียมลงเรือเดินทางเข้ามา ก็พอดีฟอลคอนและชาวฝรั่งเศสถูกกวาดล้างอำนาจโดยพระเพทราชา ขุนนาง ไทยที่มีฐานอำนาจเข้มแข็งอีกผู้หนึ่งก่อการยึดอำนาจสำเร็จ
ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสมีเหตุการณ์น่าสนใจเพียงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และอาจกล่าวได้ว่า การ เมืองภายในมีส่วนสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขณะนั้นอย่างมาก การที่ทรงโปรดปรานฟอลคอนและ ชาวตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสอย่างมาก น่าจะเป็นเพราะพระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติโดยการปราบดาภิเษก ความแตกแยกภายใน ย่อมมีมาก ขุนนางต่อต้านพระองค์ก็มากจึงต้องเสด็จไปประทับที่เมืองลพบุรี มีทหารองครักษ์เป็นกองกำลังคุ้มกันจำนวนมาก มีการจ่าย พระราชทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของกองทหารองครักษ์จำนวนมาก อีกทั้งฮอลันดาบีบคั้น จึงต้องแสวงหาฐานอำนาจ ทั้งกลุ่มคนที่จงรัก ภักดีและประเทศพันธมิตร เมื่อหวังพึ่งชาติใดก็ไม่เหมาะ พอดีฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อจึงทรงต้อนรับเป็นพันธมิตรพร้อมกับโปรดปรานฟอล คอนซึ่งเป็นตัวประสานกับชาวฝรั่งเศสได้ดี ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ปลายรัชกาลขุนนางผู้ใหญ่พากันเกรงว่าฟอลคอนจะคิดร้ายต่อบ้าน เมือง เพราะสถานการณ์และรูปการณ์บ่งบอก โดยฟอลคอนก็ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกรมพระคลังสินค้าเป็นสมุหนายก ซึ่งกุมอำนาจทั้ง ทางเศรษฐกิจและการเมือง การติดต่ออันใกล้ชิดกับฝรั่งเศสทำให้พระเพทราชาร่วมมือกับขุนนางไทยทั้งหลายยึดอานาจการปกครอง ขณะสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระประชวร เป็นการลงมือก่อน ชาวตะวันตกจึงถูกประหารบ้าง และขับไล่ออกนอกราชอาณาจักร จนหมดสิ้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจึงยุติลงด้วย แม้ว่าจะเริ่มอีกสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือแต่ไม่ดีนักจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่สมัยอยุธยาตลอดมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศลาวและเขมรเคยเป็นประเทศราชของไทย บางคราวในห้วงเวลาดังกล่าวเมื่อไทยอ่อนแอ พม่าซึ่งเป็นประเทศข้างเคียงทางทิศตะวันตกและญวนทางทิศตะวันออก มีกำลังและอำนาจ มากขึ้น ลาวก็จะยอมตกไปอยู่ในอำนาจของพม่าบ้าง และของญวนบ้างตามสภาวะแวดล้อม ส่วนเขมรนั้นบางคราวก็ได้อาศัยกำลังหนุน จากญวน และตกอยู่ใต้อิทธิพลของญวน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ฝรั่งเศสได้ส่งเมอซิเออร์ เดอมองติญี (Monsieur de Montigny) เป็นราชฑูตเข้ามาเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้ากับไทย โดยยึดถือแนวทางการทำสัญญาเช่นเดียว กับอังกฤษ ที่ได้ทำไว้กับไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ ได้เริ่มมีกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ กงสุลฝรั่งเศสคนแรกคือ คองต์ เดอ คาสเตลโน (Conte de Castenau)
ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ไทยได้ส่งพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ไปทำสัญญากับฝรั่งเศสเรื่องเมืองเขมรกับ ฝรั่งเศสที่กรุงปารีส ตามสัญญาฉบับนี้ไทยยอมรับรู้ว่าเขมรอยู่ใต้ความคุ้มครองของฝรั่งเศส ส่วนเมืองพระตะบองและเสียมราฐนั้น ฝรั่งเศส ยอมให้ไทยปกครองตามเดิม ต่อมาไทยกับฝรั่งเศสเริ่มแบ่งเขตแดนไทยกับเขมรบริเวณทะเลสาบกับแม่น้ำโขง ฝ่ายไทยต้องการเมืองจงกัล เมืองโซเตียน เมืองมโนไพร และเมืองท่าราชปริวัตรเป็นของไทย
ในปี พ.ศ.๒๔๑๓ ไทยได้ส่งพระยาราชวรากูล (บุญรอด กัลยาณมิตร) ไปเจรจากับฝรั่งเศสที่ไซ่ง่อน เกี่ยวกับ ปัญหาเขตแดนและการภาษีจับปลาในทะเลสาบ การเจรจาปัญหาเขตแดนไม่คืบหน้านัก เนื่องจากฝรั่งเศสเริ่มทำสงครามกับเยอรมนี

ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ไทยยกกำลังไปปราบฮ่อ โดยมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพ ฝรั่งเศสได้กล่าวหาไทย ว่าถือโอกาสรุกล้ำเข้าไปในดินแดนลาว ซึ่งอยู่ในอำนาจของญวน ซึ่งฝรั่งเศสกำลังจัดการปกครองเมืองญวนอยู่ ต่อมาไทยกับฝรั่งเศสได้ ตกลงทำอนุสัญญาเมืองหลวงพระบาง โดยมี ม.ปาวี (Auguste Pavie) เป็นไวซ์กงสุล (Viee Consul) ประจำเมืองหลวงพระบาง เพื่อทำ หน้าที่ดูแลความเคลื่อนไหวของไทยในดินแดนลาว และสำรวจการสร้างทางระหว่างตังเกี๋ยกับแม่น้ำโขง
ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ ไทยกับฝรั่งเศสได้เจรจาเรื่องปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับญวน โดยตั้งกรรมการผสม โดยมี ม.ปาวี เป็นหัวหน้าคณะ ออกทำการสำรวจแผนที่และภูมิประเทศชายแดน และในปีต่อมาไทยกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันว่า กองทหาร ไทยจะไม่เข้าไปในแคว้นสิบสองจุไทย ส่วนในแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก และแคว้นพวน คงให้อยู่ในสถานะเดิมคือ ทหารฝ่ายใดตั้งอยู่ที่ใดก็ ให้คงอยู่อย่างนั้น ห้ามรุกล้ำเขตซึ่งกันและกัน จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันที่กรุงเทพ ฯ ส่วนทางด้านคำเกิด คำม่วน กองทหารไทยยกไป ตั้งจนถึงเขตแดนญวน ม.ปาวี ก็ได้ทำความตกลงกับข้าหลวงเมืองหนองคาย ให้ต่างฝ่ายต่างรักษาสถานะเดิม คือให้ฝ่ายไทยอยู่ที่คำม่วน ฝรั่งเศสอยู่บ้านนาเป

ในปี พ.ศ.๒๔๓๒ ม.ปาวี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นไวซ์กงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ และได้เลื่อนฐานะเป็น ราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๕
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๓๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสชื่อ ม.เดอลองดล์ ได้เสนอต่อรัฐสภา ฝรั่งเศสให้รัฐบาลฝรั่งเศสใช้กำลังกับไทยในปัญหาดินแดน ซึ่งเคยเป็นของญวนและเขมร รัฐสภาฝรั่งเศสเห็นชอบ และให้รับดำเนินการต่อ ไป จากนั้นฝรั่งเศสได้ยกกำลังทหารเข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และส่งเรือปืนลูแตงเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของ การใช้กำลัง ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ใน ร.ศ.๑๑๒

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

An Everlasting Light

ศิลปินฝรั่งเศสแต่งเพลง “แสงสว่างที่ไม่เคยดับ” ถวายอาลัยในหลวง ร.9





นายฟร้องค์ แอร์ก็อตต์ ศิลปินชาวฝรั่งเศส และอาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดทำบทเพลงพิเศษ An Everlasting Light หรือ “แสงสว่างที่ไม่เคยดับ” โดยร่วมประพันธ์และขับร้องกับศิลปินจาก 8 ประเทศ เพื่อแสดงความอาลัยถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
นายแอร์ก็อตต์ บอกกับบีบีซีไทยว่าเริ่มประพันธ์เพลงนี้ตั้งแต่ทราบถึงพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปลายปีที่ผ่านมา และได้เห็นความทุกข์ใจของคนไทย จึงอยากมอบบทเพลงนี้เป็นกำลังใจให้คนไทยเพื่อช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ไปได้ เขาต้องการให้เพลงนี้เป็นสื่อแทนความรู้สึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาหาเลี้ยงชีพหรือพักอาศัยในประเทศไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์
นายแอร์ก็อตต์ เล่าว่าเขาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเพื่อน ๆ นักดนตรีที่รู้จักมักจะเล่าเรื่องราวของ "ในหลวง ร.9" ให้ฟังอยู่บ่อยครั้ง โดยเขาเองมีความประทับใจในพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีและมักจะอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาบรรเลงอยู่เสมอ เพราะมีทำนองที่ติดหูและเข้าถึงใจ
นายแอร์ก็อตต์ มองว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเปรียบได้ดังแสงสว่างที่ไม่เคยดับในใจของคนไทย โดยพระราชกรณียกิจมากมายที่พระองค์ทรงวางรากฐาน รวมถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ จะยังคงเป็นมรดก และแสงสว่างนำทางประเทศไทยต่อไป..
ที่มา:http://www.bbc.com

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Le Mont-Saint-Michel

Mont Saint-Michel
เมื่อพูดถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส แทบทุกคนคงนึกถึง “หอไอเฟล” ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางกรุงปารีส รวมถึงพระราชวังสำคัญของโลกอย่างแวร์ซายและลูร์ฟ
แต่จริงๆ แล้วฝรั่งเศสยังมีสิ่งก่อสร้างชื่อก้องโลกอยู่อีกแห่งคือ “มองแซงมิเชล” (Mont Saint-Michel) ที่แปลว่า “เนินเขาแห่งเซนต์ไมเคิล” เป็นวิหารคริสต์ที่สร้างอยู่บนเกาะกลางทะเลริมชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี และเมื่อน้ำลดก็สามารถเดินจากชายฝั่งไปยังวิหารแห่งนี้ได้เลย
มงแซงมิเชลถูกยกให้เป็น “สิ่งมหัศจรรย์ของโลกตะวันตก” (Wonder of the Western World) และเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศฝรั่งเศส ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากถึง 3 ล้านคน
ประวัติ
มงแซงมิเชลถือเป็น “สิ่งมหัศจรรย์” แห่งประเทศฝรั่งเศส เดิมทีเกาะแห่งนี้เรียกว่า Mont Tombe มีคนมาอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยของชนเผ่าแฟรงก์ ตำนานการก่อสร้างวิหารบนเกาะแห่งนี้คือ บิชอป Aubert of Avranches ที่มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 7 ฝันว่ามีเทวฑูต “เซนต์ไมเคิล” สั่งให้มาสร้างโบสถ์บนเกาะปากแม่น้ำ Couesnon แต่บิชอปก็ไม่ได้สนใจทำตามความฝันอันนี้
ตามตำนานเล่าว่าเทวฑูตมาเข้าฝันบิชอปถึง 3 ครั้ง และครั้งสุดท้ายยังเอานิ้วจิ้มหัวของบิชอปด้วย เมื่อตื่นมาแล้วบิชอปพบว่าศีรษะของตัวเองมีรอย จึงเชื่อว่าความฝันเป็นจริง และริเริ่มการสร้างโบสถ์บนเกาะแห่งนี้ในปี ค.ศ.  709 จากนั้นหลังบิชอปเสียชีวิตใน ค.ศ. 720 คนยุคต่อมาก็ค่อยๆ สร้างต่อเติมมงแซงมิเชลมาเรื่อยๆ สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของวิหารเป็นแบบโรมาเนสค์ (Romanesque) และถูกปรับเป็นแบบโกธิค (Gothic) ในยุคกลาง ประมาณศตวรรษที่ 15

ทำเลที่ตั้ง

Mont Saint-Michel ตั้งอยู่ริมทะเลในแคว้นนอร์มังดีทางตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส ห่างจากกรุงปารีสประมาณ 360 กิโลเมตร เมืองที่ใกล้ที่สุดคือเมือง Avranches และ Pontorson อยู่ไม่ไกลนักจากเมืองตากอากาศ St. Malo

ที่ตั้งของ Mont Saint-Michel ทางตะวันตกของฝรั่งเศส
ที่ตั้งของ Mont Saint-Michel ทางตะวันตกของฝรั่งเศส

ถ้าดูจากแผนที่ Google Maps จะเห็นว่า Mont Saint-Michel มีสถานะเป็นเกาะอยู่ริมชายหาดเลย จากภาพจะเห็นว่าตัวเกาะจะอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่มีแม่น้ำ 2 สายไหลมาเจอกันพอดี

แผนที่เกาะ Mont Saint-Michel
แผนที่เกาะ Mont Saint-Michel

ในอดีตที่ผ่านมา การไปยังเกาะแห่งนี้ต้องใช้เรือเท่านั้น แต่ในสมัยใหม่ก็มีการสร้างถนนเชื่อมไปยังตัวเกาะ อย่างไรก็ตาม ถนนเส้นนี้กลับสร้างผลกระทบต่อทิศทางน้ำ เพราะขวางทางน้ำของแม่น้ำสองสาย ส่งผลให้น้ำแห้งขอดลง
ล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลฝรั่งเศสจึงทุบถนนเส้นเดิมทิ้ง และสร้างสะพานข้ามไปยังเกาะแทน เพื่อให้น้ำลอดผ่านใต้สะพานได้ด้วย มีการนำหลักวิศวกรรมสมัยใหม่มาช่วยประเมินทิศทางไหลของน้ำ ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
ภาพดานล่างนี้เป็นภาพถ่ายจากบนวิหารย้อนกลับมายังชายฝั่ง จะเห็นสะพานเส้นใหม่ที่ตัดข้ามน้ำมาสู่เกาะมงแซงมิเชล ส่วนถนนเส้นเก่ากำลังอยู่ระหว่างรื้อถอน (เมื่อเดือน พ.ค. 2015 ยังเห็นรถขุดมาปรับสภาพพื้นที่กันอยู่)

สะพานเข้าสู่ Mont Saint-Michel

สะพานเข้าสู่ Mont Saint-Michel

คลิปแนะนำมงแซงมิเชล และการสร้างสะพานอันใหม่ในปี 2009 เพื่อปรับสถานะของมงแซงมิเชลกลับมาเป็นเกาะกลางน้ำอีกครั้ง

การเดินทางมายังมงแซงมิเชล

เนื่องจากมงแซงมิเชลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของโลก ในบริเวณนั้นจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ร้านอาหาร ที่พัก มากมาย การเดินทางไปยังมงแซงมิเชลต้องเดินทางด้วยรถยนต์เท่านั้น สำหรับผู้ที่มาด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือมากับกรุ๊ปทัวร์คงไม่มีปัญหา
ในกรณีที่เดินทางมาเที่ยวด้วยตัวเอง สามารถนั่งรถไฟมาลงที่เมือง Pontorson และต่อรถบัสมายังมงแซงมิเชลได้เลย (ค่ารถที่ระบุในเว็บไซต์คือ 12.70 ยูโร) ส่วนถ้ามาโดยเครื่องบินโดยไม่ลงที่ปารีส สนามบินที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่เมือง Rennes และ Dinard Pleurtuit ถ้ามาลงที่ Rennes สามารถต่อรถบัสมาได้เช่นกัน
ปัจจุบันมงแซงมิเชลได้ปรับพื้นที่โดยรอบใหม่ โดยจะมีศูนย์นักท่องเที่ยวอยู่บริเวณจอดรถยนต์-รถบัส ที่ห่างออกมาจากตัววิหารอยู่ประมาณหนึ่ง เราต้องจอดรถแล้วนั่งรถชัทเทิลบัสบริการฟรี ข้ามสะพานไปยังตัวเกาะ (หรือจะขี่จักรยาน-เดินไปก็ได้ มีฝรั่งทำกันเยอะแต่ก็ไกลพอสมควร)